ถุงลม

ถุงลมคืออะไร ?

         ถุงลมหรือ Air Spring คือลูกยางที่บรรจุลมอยู่ภายใน มีโครงสร้างคล้ายยางรถยนต์ วัสดุทำจากผ้าใบฉาบด้วยแผ่นยางหนา 1-2 มิลลิเมตร วางซ้อนกัน 2-3 ชั้น ใช้สำหรับอัดแรงดันลม และรับน้ำหนักได้มากตามขนาดของตัวถุงลม วัสดุที่นำมาใช้มีความทนทานต่อการฉีกขาดสูง มักใช้แทนแม่แรงไฮโดรลิค หรือใช้แทนขดลวดสปริง เพราะสามารถควบคุมระดับความสูงต่ำได้อย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง ทั้งยังให้ความนุ่มนวล และซับแรงสั่นสะเทือนของอุปกรณ์ต่างๆ ได้ดีเช่นกัน

                

                                                                                                          

 

ถุงลมแบ่งจะออกเป็น 2 แบบตามลักษณะรูปทรง :

  

 1. ถุงลมโดนัท (Air Spring Convoluted type )

 

 ถุงลมประเภทนี้มีลักษณะคล้ายลูกบอลทรงกลม มีความแข็งแรงทนทานเป็นพิเศษ มักนำไปใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องจักรหนัก เช่น ยกแม่พิมพ์ กดแม่พิมพ์ ยกวัตถุขนาดใหญ่ หรือเครื่องจักรขนาดใหญ่ เปิดปิดวาว์ลขนาดใหญ่ เป็นต้น ถุงลมประเภทนี้มีหลาย แบบทั้ง 1 ชั้น , 2 ชั้น และ 3 ชั้นแล้วแต่ลักษณะการใช้งาน สามารถดัดแปลงใช้ได้หลายรูปแบบ

  • ถุงลมโดนัทสามารถรับแรงดันลมสูงถึง 150 psi (ปอนด์/ตารางนิ้ว) หรือประมาณ 10 BAR 
  • ช่วงการใช้งานหรือ working pressure อยู่ที่ 0-150 psi (ปอนด์/ตารางนิ้ว)
  • ข้อดีของถุงลมโดนัท ตอบสนองการขึ้นลงได้รวดเร็ว ให้ความแม่นยำในระดับการยกดี รับน้ำหนักได้มาก และทนทานเป็นพิเศษ

ตัวอย่างการติดตั้ง : 

 

 .........................................

 

    2. ถุงลมทรงกระบอก (Air Spring Sleeve type)

 

     ถุงลมประเภทนี้มีลักษณะคล้ายกระบอกไม้ไผ่หรือถ้วยแก้วทรงสูง โดยตัวถุงลมเมื่อถูกใช้งาน จะพับตัวเข้าด้านในซ้อนกันอยู่ และลักษณะการพับซ้อนเข้าด้านในนี้ทำให้เกิดช่องอากาศภายใน จึงทำให้ยึดหยุ่นตัวได้ดี ทั้งยังให้ความนุ่มนวลสูง และซับแรงกระแทกได้ดี นิยมใช้ในอุตสาหกรรม รถยนต์ รถบัส รถทัวร์ หรือรถส่งสินค้าที่ต้องการลดแรงสั่นสะเทือน ช่วยป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับสินค้าได้ดี และมักใช้เป็นช่วงล่างรถยนต์หลายรุ่น เช่นกัน

  • ถุงลมประเภทนี้สามารถรับแรงดันลมได้สูงถึง 150 psi (ปอนด์/ตารางนิ้ว) 10 BAR
  • ช่วงการใช้งานหรือ working pressure อยู่ที่ 0-150 psi (ปอนด์/ตารางนิ้ว)
  • ข้อดีของถุงลมทรงกระบอก ยกได้สูง ให้ความนุ่มนวลที่สูง ช่วยลดแรงกระแทก และสั้นสะเทือนได้ดีเยี่ยม

ตัวอย่างการติดตั้ง : 

 ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

          การนำถุงลมมาไปใช้กับรถยนต์นั้น ต้องดูหลายองค์ประกอบ ทั้งการรับน้ำหนักของตัวรถยนต์ ประเภทของช่วงล่างที่หลากหลาย 

ทั้งแบบทอชั่นบาร์ แบบแมคเพอร์สันสตัท แหนบ หรือช่วงล่างแบบอิสระ การติดตั้งก็จะแตกต่างกันออกไป ทั้งยังความต้องการของลูกค้าที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการทำรถยนต์ แบบรถโชว์ หรือรถใช้งานทั่วไป หรือกึ่งโชว์กึ่งใช้งาน

            ทุกวันนี้ในตลาดบ้านเราได้มีการใช้ถุงลมกันอย่างแพร่หลาย และขาดความรู้ลองผิดลองถูกกันไป อาจจะทำให้การนำไปใช้กับช่วงล่างและการขับขี่ไม่ได้สมรรถนะเท่าที่ควร ขับขี่แล้วรู้สึกช่วงล่างแข็งกระด้าง หรือช่วงล่างนิ่มจนเกินไปไม่เกาะถนนเวลาขับขี่ได้ ซึ่งการปรับใช้ถุงลมให้เหมาะสมกับตัวรถยนต์นั่นเป็นสิ่งที่สำคัญมากไม่ใช่ว่าจะใช้ถุงลมกันแบบเดียวรุ่นเดียว ใช้ครอบจักรวาลใส่ได้ทุกรุ่นก็จะเกิดปัญหาตามมาได้ภายหลัง

ทริค

        วันนี้ ADMIN มีข้อมูลส่วนตัวดีๆมานำเสนอให้สำหรับการเลือกใช้ถุงลมที่เหมาะกับการใช้งาน ไม่ว่าจะทำรถยนต์เป็นแบบกึ่งโชว์หรือกึ่งขับขี่ลองใช้สูตรนี้กันดูครับ ช่วงล่างด้านหน้าตัวรถยนต์ให้ใช้ถุงลมโดนัท (Air Spring Convoluted type ) โดยทดสอบโดยการปล่อยแรงดันลมที่ใช้ยกรถยนต์ประมาณ 60-70 Psi และดูความสูงของตัวรถยนต์ว่าใกล้เคียงความสูง ตอนยังเป็นรถยนต์แบบสแตนดาสหรือไม่ ถ้าใกล้เคียงก็ถือว่ามาถูกทางครับ

         ช่วงล่างด้านหลังให้ใช้ถุงลมทรงกระบอก (Air Spring Sleeve type) ซึ่งมันจะช่วยลดแรงสะท้อนและแรงสั่นสะเทือนจากด้านหน้าตัวรถยนต์ ทำให้รถยนต์นิ่งขึ้นเวลาขับขี่ โดยทดสอบโดยการปล่อยแรงดันลมที่ใช้ยกรถยนต์ประมาณ 60-70 Psi เช่นกันและดูความสูงของตัวรถยนต์ว่าใกล้เคียงความสูงเท่าสแตนดาสหรือไม่

ดังรูปที่แสดง  

 

 สูตรเคล็ดไม่ลับนี้จะทำให้รถยนต์ขับขี่ได้อย่างนุ่มนวลและใช้งานได้อย่างดี เพราะแรงดันลมที่ใช้ยกรถยนต์นั้น คือค่าแรงดันที่เป็นค่าของสเปคที่โรงงานถุงลมให้มา หรือ Working Pressure ของถุงลมนั่นเอง ( ซึ่งในคู่มือการใช้ก็มีบอกนะแต่ไม่เห็นดูกันเลยบางยี่ห้อก็เขียนปั้มนูนไว้ที่ตัวถุงเลย )

ตัวอย่างของสินค้านอกยี่ห้อดัง สังเกตุดูค่าที่ระบุไว้ที่ถุงลมยังทน MAX ได้แค่ 110 PSI นั่นเอง การใช้งานของคนไทยทนได้มากกว่านี้รึป่าว เพราะถ้าคุณพยายามใช้แรงดันที่มากเกินไปจะเกิดอันตรายและปัญหาอื่นๆ อีกมากมายได้ครับ

 

และการใช้ถุงลมที่มีขนาดเล็กเกินไป มันก็จะทำให้รถยนต์ยกตัวไม่สูงและต้องใช้แรงดันลมที่มากขึ้น เคยเจอบางคันใช้ถึง 150 psi ซึ่งจะอันตรายมาก ไหนจะยังไม่รวมถึงการรับน้ำหนักทั้งผู้โดยสาร ทั้งสัมภาระอีก ไหนจะขับขี่ที่มีแรงกระแทกจากถนนเข้าไปอีก ถืงแม้ว่าถุงลมจะพอรับไหวแต่นานๆ ไปทั้งถุงลมและอุปกรณ์อื่นๆ จะเกิดปัญหารั่วซึมและเสียดหานได้ในอนาคต

             ในขณะเดียวกันถ้าใช้ถุงลมใหญ่เกินไป ตัวรถยนต์ก็จะยกตัวสูงจนเกินไป จนตัวรถยนต์แข็งกระด้าง ไม่มีความยึดหยุ่นและไม่มีการยุบตัวของช่วงล่าง เหมือนเอาแท่งเหล็กไปคั้มยันเอาไว้ เวลาขับขี่ก็จะไม่สบายเหมือนขับรถแข่งในสนามตลอดเวลา

 

 ADMIN มีทริคมาบอกเพิ่มว่า

       ใครที่ใช้ช่วงล่างถุงลมเดิมอยู่แล้ว ยกไม่เร็ว ไม่สูง ไม่ได้ดั่งใจ และพยายามจะไปปรับแต่ง อุปกรณ์อื่นๆ ให้ขึ้นลงได้เร็วๆ

         ADMIN ไม่แนะนำนะครับ เพราะอุปกรณ์ลม หรืออุปกรณ์นิวเมตริกนั้นถูกออกแบบมาให้ทนแรงดันลมมาตราฐานได้ไม่เกิน 150 Psi

หรือ 10 BAR เท่านั้น ซึ่งก็จะมีบอกในอุปกรณ์ทุกชิ้น ว่า MAX PSI ของอุปกรณ์นั้นเท่าไหร่ ลองสังเกตุกันดูนะครับ

แต่ก็จะมีอุปกรณ์พิเศษที่ระบุว่าสามารถใช้เป็นแบบ Hight Pressure ได้ แต่คุณก็ต้องยกเปลี่ยนมันทั้ง Set เช่นกัน ไม่งั้นปัญหาการรั่วซึมก็จะไม่จบไม่สิ้น แก้จุดนี้ก็จะเป็นจุดนั้นไปเรื่อยๆ ครับ

 ลองอ่านข้อมูลการใช้ของอุปกรณ์ต่างๆ ในเว็บไซต์นะครับ ADMIN จะค่อยอัพเดทให้เรื่อยๆ

 

 

Visitors: 6,903