ปั้มลมไม่เข้า ปั้มช้า มีเสียงดัง ปั้มไม่ทำงาน

ปั๊มลมไม่เข้า ปั๊มช้า มีเสียงดัง ปั๊มไม่ทำงาน

            ปัญหาปั๊มลมนั้นมีหลายสาเหตุมาก แต่ถ้าลองวิเคราะ เจาะลึกรื้อชิ้นส่วนภายในออกมาดูกันจริง ก็จะสามารถหาสาเหตุที่แท้จริงได้ ปั้มลมจะประกอบไปด้วยชิ้นส่วนดังนี้ ถ้ามีการเสียหายชิ้นส่วนไหนจะมีอาการเฉพาะฟ้องออกมาตามลักษณะของปัญหาครับ

  - ปั๊มลมปั๊มได้ปกติแต่ลมไม่เข้า แสดงว่าตัวปิดวาล์วหรือตัวกันลมกลับเข้าปั๊มเสียหายหรือซีลต่างๆ บริเวณหัวปั๊มลมไม่แน่นก็จะอัดลมแล้วออกนอกระบบได้   เช่นกัน รูปภาพด้านล่างแสดงแผ่นปิดกันลมย้อนกลับเสียหาย

  ก้านลูกสูบหักและไปงัดกับผนังลูกสูบจนหยุดการทำงาน อาการนี้ส่วนใหญ่มาจากเทฟล่อนไม่มีคุณภาพ หรือผนังลูกสูบไม่เรียบลื่น เทฟล่อนจะสึกหร๋ออย่างรวดเร็วและไปเสียดสีกับผนังลูกสูบจนเกิดรอยและงัดกันเองจนหักในที่สุด และอาจเกิดจากใช้การแรงดันลมมากเกินไป จนลูกสูบรับไม่ไหวแกนลูกสูบก็หักได้เช่นเดียวกัน รูปภาพด้านล่างแสดง เทฟล่อนเสียหายจนเสียดสีกับผนัง

 ชุดฐานมอเตร์ ชุดนี้จะประกอบไปด้วย เทอร์โมสตัท (ตัวตัดเวลาปั๊มร้อนมากๆ) แปลงถ่านมอเตอร์กรณีนี้ถ้าตรวจเช็คอุปกรณ์แล้วอยู่ในสภาพดี แสดงว่า เทอร์โมสตัทเสียปั๊มลมจะหยุดทำงาน กรณีแปลงถ่านละลาย อาจเป็นผลมาจากชุดลูกสูบติดทำให้มอเตอร์หยุดหมุน และเทอร์โมสตัทอาจเสียหายได้เช่น กัน รูปภาพด้านล่างแสดงชุดฐานมอเตอร์ เทอร์โทสตัท และแปลงถ่าน สามารถหาอะไหล่เทียบได้ตามร้านมอเตอร์ทั่วไป

  - ตัวมอเตอร์หลัก(ไม่ค่อยเสียครับตัวนี้) กรณีนี้มอเตอร์เสียรอบจะหมุนช้าไม่มีกำลังและจะร้อนเร็วหรือมีกลิ่นไหม้อ่อนๆ 

 

  สรุปปัญหา 

            โดยส่วนใหญ่แล้วสาเหตุหลักๆ มาจากการใช้ปั๊มลมอัดลมจนเกินตัวทำให้อุปกรณ์ไม่สามารถรับภาระ จากเกิดสร้างแรงดันลมที่มากเกินไป  เอาง่ายๆเลยว่า ถ้าคุณปัีมลม 0-100 PSI ปล่อยทิ้งไว้ 24 ชม โดยปล่อยให้ระบบตัดการทำงานในตัวมันเองควบคุม คุณสามารถปั๊มได้เรื่อยๆ โดยที่ไม่ต้องกังวลว่าปั้มลมจะพังหรืออุปกรณ์ภายในจะเกิดการเสียหายแต่อย่างใดๆเลย ยกเว้นแบตเตอรรี่หมด แต่ถ้าคุณให้ปั๊มทำงานจาก 120 - 150 PSI เพียงแค่ 2-5 ชม ถ้าปั้มไม่ดีจริง ฐานมอเตอร์หรือแปลงถ่านอาจละลายและลัดวงจรได้เลยนะครับเพราะปั้มจะกิน AMPS สูงกว่าปกติมากยิ่งถ้าไฟฟ้ามาไม่พอด้วยระบบอื่นๆ อาจเสียหายตามไปด้วยครับ โดยปกติแล้วตัวเทอร์โมสตัทที่ฐานของปั๊มลมจะทำหน้าที่ตัดการทำงานของปั๊มลมในกรณีที่มีความร้อนสะสมไปเรื่อยๆ และส่งความร้อนจนถึงประมาณ 80 อาศาและตัดการทำงาน

แต่ในกรณีที่ปั๊มทำงานหนักมากๆ ในระยะเวลาสั้นๆ ปั้มลมมันยังไม่ทันจะส่งความร้อนสะสมมายังที่ฐานของมอเตอร์ ตัวเทอร์โมสตัทมันก็จะไม่รับรู้อะไรแต่จะทำหน้าที่เหมือนฟิวส์ 30 AMPS ดีๆ นี่เอง ถ้าไม่ขาดซะก่อนตัวแปลงถ่านหรือสายไฟรอบๆ ก็จะละลายเกิดการลัดวงจรได้ในที่สุดนะครับ

Visitors: 9,133