เรื่องของ รีเลย์ ทำไมต้องใช้เผื่อๆ

          จริงๆ แล้วหลายคนมองข้ามอุปกรณ์ชิ้นนี้มาก ซึ่งความเป็นจริงแล้วมันคือหัวใจหลักของการทำงานของปั้มลมเลย รีเลย์เป็นรีเลย์เป็นอุปกรณ์ในระบบไฟฟ้ารถยนต์ทำหน้าที่คล้ายสวิตช์ ควบคุมการทำงานโดยสวิตช์หรือตัวเซ็นเซอร์ หรือเรียกหลักการให้เข้าใจง่ายๆก็คือการใช้ไฟเล็กไปสั่งไฟใหญ่ เมื่อหากเราต้องการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีกำลังวัตต์สูงๆ เราก็ใช้รีเลย์เป็นตัวเปิดปิดการทำงานของอุปกรณ์นั้นโดยไม่จำเป็นที่จะต้องไปสัมผัสโดยตรง เป็นการป้องกันความปลอดภัยจากไฟช๊อตหรือไฟกระชาก โดยภายในตัวรีเลย์ประกอบด้วยชุดหน้าสัมผัสและขดลวด

 

 

 

    รีเลย์ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วนหลัก ก็คือ

             1. ส่วนของขดลวด (coil) เหนี่ยวนำกระแสต่ำ ทำหน้าที่สร้างสนามแม่เหล็กไฟฟ้าให้แกนโลหะไปกระทุ้งให้หน้าสัมผัสต่อกัน ทำงานโดยการรับแรงดันจากภายนอกต่อคร่อมที่ขดลวดเหนี่ยวนำนี้ เมื่อขดลวดได้รับแรงดัน(ค่าแรงดันที่รีเลย์ต้องการขึ้นกับชนิดและรุ่นตามที่ผู้ผลิตกำหนด) จะเกิดสนามแม่เหล็กไฟฟ้าทำให้แกนโลหะด้านในไปกระทุ้งให้แผ่นหน้าสัมผัสต่อกัน

             2. ส่วนของหน้าสัมผัส (contact) ทำหน้าที่เหมือนสวิตช์จ่ายกระแสไฟให้กับอุปกรณ์ที่เราต้องการนั่นเอง

 

ลักษณะการใช้งานของรีเลย์ของทางร้าน

เลข 30 ให้ต่อกับสายไฟแบตเตอรี่รถยนต์ DC 12V

เลข 85 และ เลข 86 เป็นเหมือนสัญญาณคอยสั่งการให้รีเลย์ทำงานปล่อยไฟจาก เลข 30 ไปสู่เลข 87 ส่วนใหญ่นิยมต่อเข้ากับสวิตช์สั่งการ

เลข 87 ให้ต่อกับสายไฟบวกกับปั้มลมหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าที่จะให้ทำงาน

 

จุดต่อใช้งานมาตรฐาน ประกอบด้วย

จุดต่อ NC ย่อมาจาก normal close หมายความว่าปกติดปิด หรือ หากยังไม่จ่ายไฟให้ขดลวดเหนี่ยวนำหน้าสัมผัสจะติดกัน โดยทั่วไปเรามักต่อจุดนี้เข้ากับอุปกรณ์หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต้องการให้ทำงานตลอดเวลาเช่น

จุดต่อ NO ย่อมาจาก normal open หมายความว่าปกติเปิด หรือหากยังไม่จ่ายไฟให้ขดลวดเหนี่ยวนำหน้าสัมผัสจะไม่ติดกัน โดยทั่วไปเรามักต่อจุดนี้เข้ากับอุปกรณ์หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต้องการควบคุมการเปิดปิดเช่นโคมไฟสนามหนือหน้าบ้าน

จุดต่อ C ย่อมากจาก common คือจุดร่วมที่ต่อมาจากแหล่งจ่ายไฟ


       ข้อคำถึงในการใช้งานรีเลย์ทั่วไป
               1. แรงดันใช้งานหรือแรงดันที่ทำให้รีเลย์ทำงาน หากเราดูที่ตัวรีเลย์จะระบุค่าแรงดันใช้งานไว้(หากใช้ในงาอิเล็กทรอนิกส์ ส่วนมากจะใช้แรงดันกระแสตรงในการใช้งาน) เช่น 12VDC คือต้องใช้แรงดันที่ 12 VDC เท่านั้นหากใช้มากกว่านี้ ขดลวดภายใน ตัวรีเลย์อาจจะขาดได้ หรือหากใช้แรงดันต่ำกว่ามาก รีเลย์จะไม่ทำงาน ส่วนในการต่อวงจรนั้นสามารถต่อขั้วใดก็ได้ครับ เพราะตัวรีเลย์ จะไม่ระบุขั้วต่อไว้ (นอกจากชนิดพิเศษ)
               2. การใช้งานกระแสผ่านหน้าสัมผัส ซึ่งที่ตัวรีเลย์จะระบุไว้ เช่น 10A 220AC คือ หน้าสัมผัสของรีเลย์นั้นสามาถทนกระแสได้ 10 แอมแปร์ที่ 220VAC ครับ แต่การใช้ก็ควรจะใช้งานที่ระดับกระแสต่ำกว่านี้จะเป็นการดีกว่าครับ เพราะถ้ากระแสมากหน้าสัมผัส ของรีเลย์จะละลายเสียหายได
               3. จำนานหน้าสัมผัสการใช้งาน ควรดูว่ารีเลย์นั้นมีหน้าสัมผัสให้ใช้งานกี่อัน และมีขั้วคอมมอนด้วยหรือไม่


ประเภทของรีเลย์
               เป็นอุปกรณ์ทำหน้าที่เป็นสวิตช์มีหลักการทำงานคล้ายกับ ขดลวดแม่เหล็กไฟฟ้าหรือโซลินอยด์ (solenoid) รีเลย์ใช้ในการควบคุมวงจร ไฟฟ้าได้อย่างหลากหลาย รีเลย์เป็นสวิตช์ควบคุมที่ทำงานด้วยไฟฟ้า แบ่งออกตามลักษณะการใช้งานได้เป็น 2 ประเภทคือ
               1. รีเลย์กำลัง (power relay) หรือมักเรียกกันว่าคอนแทกเตอร์ (Contactor or Magneticcontactor)ใช้ในการควบคุมไฟฟ้ากำลัง มีขนาดใหญ่กว่ารีเลย์ธรรมดา
               2. รีเลย์ควบคุม (control Relay) มีขนาดเล็กกำลังไฟฟ้าต่ำ ใช้ในวงจรควบคุมทั่วไปที่มีกำลังไฟฟ้าไม่มากนัก หรือเพื่อการควบคุมรีเลย์หรือคอนแทกเตอร์ขนาดใหญ่ รีเลย์ควบคุม บางทีเรียกกันง่าย ๆ ว่า "รีเลย์"


ประโยชน์ของรีเลย์
                1. ทำให้ระบบส่งกำลังมีเสถียรภาพ (Stability) สูงโดยรีเลย์จะตัดวงจรเฉพาะส่วนที่เกิดผิดปกติ ออกเท่านั้น ซึ่งจะเป็นการลดความเสียหายให้แก่ระบบน้อยที่สุด
                2. ลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมส่วนที่เกิดผิดปกติ
                3. ลดความเสียหายไม่เกิดลุกลามไปยังอุปกรณ์อื่นๆ
                4. ทำให้ระบบไฟฟ้าไม่ดับทั้งระบบเมื่อเกิดฟอลต์ขึ้นในระบบ



         คุณสมบัติที่ดีของรีเลย์
                1.ต้องมีความไว (Sensitivity) คือมีความสามารถในการตรวจพบสิ่งที่ผิดปกติเพียงเล็กน้อยได้
                2.มีความเร็วในการทำงาน (Speed) คือความสามารถทำงานได้รวดเร็วทันใจ ไม่ทำให้เกิดความเสียหายแก่อุปกรณ์และไม่กระทบกระเทือนต่อระบบ โดยทั่วไปแล้วเวลา ที่ใช้ในการตัดวงจรจะขึ้นอยู่กับระดับของแรงดันของระบบด้วย
ระบบ 6-10 เควี จะต้องตัดวงจรภายในเวลา 1.5-3.0 วินาที
ระบบ 100-220 เควี จะต้องตัดวงจรภายในเวลา 0.15-0.3 วินาที
ระบบ 300-500 เควี จะต้องตัดวงจรภายในเวลา 0.1-0.12 วินาที

 

"เพราะฉนั้นการใช้รีเลย์ที่มีคุณภาพ หรือเผื่อๆ AMP ไว้แยอะก็ไม่เสียหายอะไรครับ ยิ่งมากยิ่งดีครับ" 

 

ขอขอบคุณแหล่งที่มา

http://www.psptech.co.th/รีเลย์relayคืออะไร-15696.page

Visitors: 6,812