ปั๊มลม

ปั้มลม หรือเครื่องอัดอากาศ ( Air Compressor Pump )

            เป็นเครื่องกำเนิดแรงดันลม โดยใช้ไฟฟ้าขับเคลื่อนมอเตอร์ ให้หมุนลูกสูบภายในอัดแรงดันลมเข้าถังพักลม หรืออุปกรณ์โดยมีตัวกั้นลมไม่ให้ย้อนกลับเข้าลูกสูบหรือ Check Valve เป็นตัวปิดไม่ให้ลมไหลย้อนกลับ และลมจะถูกเพิ่มกำลังอัดเข้าไปเรื่อยๆ จนได้แรงดันลมที่ต้องการเพื่อนำไปใช้ในระบบต่อไป

ดังรูปที่แสดง

 

       ปั้มลมจะประกอบด้วยอุปกรณ์หลักๆ ดังนี้

              1. มอเตอร์ไฟฟ้า เป็นตัวขับการเคลื่อนการหมุนของลูกสูบ

              2. ชุดลูกสูบสร้างแรงดันลม และตัวระบายความร้อน 

       วิธีการเลือกปั้มลมที่มีคุณภาพ

             การเลือกปั้มลมนั้นต้องศึกษาหาความรู้กันบ้างครับ เพราะรูปแบบของปั้มลมสมัยนี้เหมือนกันหมด โดยอุปกรณ์ส่วนใหญ่จะผลิตมาจากแหล่งใกล้ๆ กันไม่ว่าจะเป็นตัวมอเตอร์และอุปกรณ์ต่างๆ จึงต้องเจาะลึกกันถึงภายในถึงจะรู้ความแตกต่างของปั้มลมว่าแบบไหนมีคุณภาพ แบบไหนไม่มีคุณภาพ ถ้าจะตรวจเช็คคุณภาพกันจริงๆ คงต้องแกะปั้มลมมาดูภายกันในครับ แต่คงไม่มีร้านค้าไหนให้แกะแน่ๆ แต่ก็พอจะดูจากภายนอกได้เบื้องต้นบ้างครับ

 

        แล้วจะเลือกปั้มลมแบบไหนดี

             ง่ายๆ ครับก่อนอื่นก็เลือกปั้มที่มีแบบมอเตอร์ใหญ่ๆ ไว้ก่อนครับ เพราะลูกสูบจะเล็กหรือใหญ่ ก็ได้ลมที่ดีและเร็วครับ แต่ถ้าเลือก มอเตอร์เล็ก ก็ต้องดูว่าชุดลูกสูบเล็กตามด้วยรึเปล่า หรือไปดูรายละเอียดการใช้งานว่าปั้มลมตัวนี้ อัดลมได้สูงสุดเท่าไหร่ กี่ Amps หรือกี่ลิตรต่อนาทีครับ ไม่อย่างนั้น ถ้าเราพยายามใช้ให้อัดลมเกินกำหนดที่ชุดลูกสูบ กับมอเตอร์จะรับได้ มันจะกินโหลดจนอุปกรณ์ภายในไหม้และเสียหายได้ครับ สังเกตุว่าจะได้ยินข่าว ก้านลูกสูบหัก ตูดปั้มเกิดละลายอยู่บ่อยครั้งครับเพราะใช้กันอย่างผิดๆ ครับ

 

วิธีการเลือกปั้มลม

               1.ให้ดูขนาดปั้มลมภายนอก ให้สังเกตุขนาดของปั้มลมภายนอกก่อนเลยว่าตัวมอเตอร์ใหญ่หรือเล็กเพราะมอเตอร์ที่ใหญ่จะให้กำลังอัดที่ดีและต่อเนื่องเวลาอัดแรงดันลมเข้าตอนปลาย ( จาก 120 - 150 PSI ) จะกำลังอัดลมจะไม่ตกลง และจะอัดลมเข้าไปได้อีกเรื่อยๆ อย่างมีความเสถียร และขึ้นได้อย่างต่อเนื่องเลยทีเดียวครับ ถ้ามอเตอร์เล็กส่วนใหญ่ก็จะระบุอยู่แล้วว่า MAX PSI ของปั้มลมได้ 100 PSI หรือมากกว่าเล็กน้อย ก็ถือว่าสมเหตุสมผล แต่ถ้ามอเตอร์เล็กแล้วโฆษณาว่าอัดได้ 200 psi ก็ต้องไปดูกันว่าชุดลูกสูบเล็กตามไปด้วยรึป่าว ซึ่งถ้าชุดลูกสูบเล็กจะไม่กินแรงมอเตอร์ และจะอัดแรงดันลมได้ Pressure ที่สูงกว่า แต่ปริมาณลมที่เข้าจะน้อยกว่าครับ ลมจะช้ากว่าแบบชุดลูกสูบที่มีขนาดใหญ่ สังเกตุพวกปั้มลมยางรถยนต์แบบเสียบที่จุดบุหรี่ ที่ไว้้ใช้เติมลมยางแบบฉุกเฉิน ปั้มพวกนี้จะสามารถปั้มลมได้ 250 กว่า PSI เลยครับ แต่กว่าจะปั้มลมจนเต็มยางข้างหนึ่งก็จะใช้เวลานานมาก บางทีเกือบครึ่งชั่วโมงเลยครับถ้าใครเคยใช้จะรู้

 

 

             

 

             2.อุปกรณ์ภายในก้านสูบ ผนังลูกสูบ และซีลลูกสูบ

ถ้ามอเตอร์กำลังดีแล้ว แต่วัสดุที่ใช้ทำลูกสูบไม่ลื่น ไม่แข็งแรง ผนังลูกสูบไม่เงา เกิดการเสียดสีและสึกหร๋อของซีลลูกสูบ ก็จะทำให้ลูกสูบไปเสียดสีกับผนังเองจนงัดกันแตกหักเสียหายได้

      - ก้านลูกสูบ ต้องมีโครงสร้างที่แข็งแรงไม่เสียรูป และระบายความร้อนได้ดี สังเกตุเส้นสีแดง ดังภาพตัวก้านสูบมีโครงสร้างรองรับเพิ่มความแข็งแรง ทั้งยังช่วยระบายความร้อนได้อีกด้วย

 

      - ผนังลูกสูบ (Heatsink with Cylinder Wall) ต้องมีความเรียบเงา และต้องผ่านการชุบแข็งขัดจนลื่นเป็นผนังฟิล์มบางๆ และต้องระบายความร้อนได้ดี บางยี่ห้อถึงกับติดพัดลมช่วยระบบความร้อนที่หัวปั้มเลยก็มีให้เห็นอยู่

  

      - ซีลลูกสูบ (Piston seal) ซีลลูกสูบ หรือ Piston seal ต้องเป็นวัสดุเทฟล่อน PTFE เท่านั้น เพราะทนความร้อนได้ถึง 250 ํc องศา และมีความลื่นในตัวเองอยู่แล้วจึงไม่ต้องใช้น้ำมันหล่อลื่นช่วย และยังเป็นที่มาของคำว่า  "ปั้มลมแบบแห้งครับ" และยังมีการใช้เทฟล่อนเกรดพิเศษขึ้นไปอีก เรียกว่า Bronze PTFE เทฟล่อนตะกูลนี้มีความลื่นและทนการสึกหรอสูงมาก 

 

           ซึ่ง BRONZE PTFE จะใช้กันอยู่ในปั้มลมต่างประเทศ อย่างยี่ห้อ VIAIR เป็นต้น สังเกตง่ายๆ ถ้าใครมีปั้มรุ่นนี้อยู่ลองแกะมาส่องกล้องดู จะเห็นประกายแสงเงาๆ อยู่ที่ตัวเทฟล่อน

*** ถ้าทั้ง 3 วัสดุนี้มีคุณภาพที่ดี บวกกับมอเตอร์ที่มีกำลัง WATT ที่แรงด้วย ปั้มลมตัวนนี้ก็ถือว่าผ่านครับ ***

 

อีกย่างที่มองข้ามไม่ได้เลยก็คือ วิธีการติดตั้งที่ดี

ให้คำนึงถึง 2 ปัจจัยหลักๆ คือ 

     1. ไฟฟ้าต้องมาเต็ม ส่วนใหญ่ตายกันน้ำตื้นครับ ใช้สายไฟใหญ่แล้วแต่ดันใช้ รีเลย์ 30Amp ไฟฟ้ามันก็ผ่านได้น้อยอยู่ดี ยิ่งรีเลย์บ้านเรา ไฟฟ้ามาไม่เต็มอีกอย่างเก่งก็แค่ 25Amp อันนี้จะทำให้ปั้มพังไปด้วยนะครับ ตัวอย่าง RELAY ของนอกยังเผื่อๆ 40 AMPS

     2. การยึดติดตั้งปั้มลม หลายคนคงสงสัยกันว่า ก้อนยางดำๆ 4 จุดที่ฐานปั้มลม ที่เป็นจุดยึดปั้มลมไม่ใส่ได้มั้ย  ADMIN บอกเลยนะครับ ว่าสำคัญมากๆ เลยเพราะนอกจากจะช่วยลดเสียงรบกวนแล้ว ยังช่วยลดการสั่นสะเทือนของตัวปั้มลมด้วยนะครับ เพราะปั้มลมจะมีลูกปืน หรือ Ball Bearing หลายจุด ถ้าแรงสั่นสะเทือนสะสมไม่กระจายออกไป มันจะไปทำให้ลูกปืนหลวมและหลุดออกจนลูกสูบและมอเตอร์เสียหายได้นะครับ ถ้าไม่มียางรองฐานปั้มอายุการใช้งานสั้นลง 3-5 เท่าเลยนะครับ ADMIN เทสมาแล้ว ใส่กับไม่ใส่ต่างกันอย่างเห็นได้ชัดเลยนะครับ

 

 

สาระความรู้

  • ถุงลม
    ถุงลมคืออะไร ? ถุงลมหรือ Air Spring คือลูกยางที่บรรจุลมอยู่ภายใน มีโครงสร้างคล้ายยางรถยนต์ วัสดุ...
  • ปั๊มลม
    ปั้มลม หรือเครื่องอัดอากาศ( Air Compressor Pump ) เป็นเครื่องกำเนิดแรงดันลม โดยใช้ไฟฟ้าขับเคลื...
  • ถังลม
    เป็นเนื้อหาของบทความหรือสินค้าโดยละเอียดกรุณาใส่ข้อความ …
  • วาล์วไฟฟ้า
    วาว์ลเปิด-ปิด ด้วยไฟฟ้า(Solenoid Valve) . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . ...
Visitors: 9,095