วาล์วไฟฟ้า

วาว์ลเปิด-ปิด ด้วยไฟฟ้า (Solenoid Valve)

 

   

. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .  

 

 

            วาล์วไฟฟ้า หรือ Solenoid Valve คือตัวอุปกรณ์ควบคุมการปล่อยลม โดยใช้ไฟฟ้าส่งกระแสไฟไหลผ่านขดลวดหรือ Coil ทำให้เกิดสนามแม่เหล็กและดูดเสาเหล็กที่อยู่ภายในแกนวาว์ลให้ยกตัวขึ้น ทำให้ประตูลมเปิดออก และลมจะผ่านเข้าช่องปล่อยออกที่เรียกว่า ORIFICE เพื่อนำไปใช้งานต่อไป วาล์วไฟฟ้ามีหลายรูปแบบมากครับ ในที่นี้จะอธิบายวาล์วที่ใช้กันอยู่ในตลาดบ้านเรานะครับ เรียกว่า Solenoid Valve 2/2 way หรือวาว์ลสองทาง ซึ่งวาล์ว 2/2 ที่ใช้กัน อยู่จะมีอยู่ 2 แบบ

  1. วาล์วแบบเสากดโดยตรง (Direct Valve)

         - ข้อดีของวาล์วแบบเสากด คือการตอบสนองการปล่อยลมได้อย่างรวดเร็ว และปล่อยลมเข้าออกได้อย่างแม่นยำ และอายุการใช้งานยาวนานกว่า

                                                          

  

  2. วาล์วแบบผสมแผ่นไดอาแฟรม (Direct Valve diaphragm)

         - ข้อดีของวาล์วแบบแผ่นไดอาแฟรม คือสามารถปล่อยลมได้ในปริมาณมากๆ เพราะมีช่องปล่อยปริมาณลม ORIFICE ที่มีขนาดใหญ่กว่าแบบเสากดโดยตรง (Direct Valve)

         - ข้อเสียของวาล์วแบบแผ่นไดอาแฟรม คือการตอบสนองที่ช้ากว่าจะมีอาการหน่วง และต้องใช้ลมทิ้งส่วนหนึ่งในการดันแผ่นไดอาแฟรม สังเกตุจะมีเสียงลมทิ้งเวลากด อายุการใช้งานจะสั้นกว่า และเมื่อใช้ไปนานๆแผ่นไดอาแฟรมจะบวมและเปิดปิดประตูลมไม่อยู่

 

  

                                                                           

 

  วิธีดูรายละเอียดจากตัววาล์ว 

 

  การทำของวาล์ว

             ในสภาวะปกติ จะมีลมจากทางเข้าวาล์วและสปริงช่วยกดเสาวาล์ว เป็นการปิดวาล์ว เมื่อปล่อยมีกระแสไฟฟ้า 12v ไหลเข้าสายไฟขดลวด (coil) ขดลวดจะแปลงสถานะเป็นสนามแม่เหล็กแรงสูงและยกเสาเปิดลมให้ไหลผ่านไปได้

ในรูปด้านล่างจะเป็นการแสดงการทำงานของวาล์วเปิดลมเข้าออกของถุงลม 

 

 

  ADMIN มีทริคดีๆ มาฝาก

            ความเร็วของลมเข้าหรือลมออกอย่างรวดเร็วนั้น ไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่า วาล์วนั้นกี่หุน แต่ให้ดูที่ ORIFICE หรือ ช่องปล่อยปริมาณลมว่าใหญ่เท่าไหร่ เพื่อนๆ มักเข้าใจกันผิดๆ ว่ารูเกลียวหุนยิ่งใหญ่ยิ่งเร็ว อย่าเข้าใจผิดๆ กันอีกนะครับ .

            และก็ให้ดูเรื่องอื่นๆ ด้วยนะครับไม่ใช่ว่า ORIFICE หรือช่องปล่อยปริมาณลมใหญ่ แต่ใช้สายลมเล็กไปก็เท่านั้นครับ ลมก็จะออกตามขนาดของสายลมอยู่ดี และความยาวของสายลมก็จะมีผลต่อความเร็วในการยกขึ้นลงเช่นกัน และก็อีกจุดที่จะตกม้าตายกันก็ที่ Fitting เข้าถุงลม ถ้าลมมาดีทั้งระบบแล้ว ทางเข้าถุงเล็กก็ช้าอยู่ดีนะครับ ก็ต้องทำการปรับขยายตามกันไปทั้งระบบ ถึงจะได้ความเร็วที่ต้องการนะครับ

 

 
Visitors: 8,441